วันเสาร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

สตรีกับความรุนแรง

สถานการณ์ความรุนแรงในประเทศไทย นับว่ายังเป็นปัญหาสำคัญ และส่งผลกับสตรี และเด็กเป็นวงกว้าง และเกิดขึ้นในหลายรูปแบบ ทั้งความรุนแรงในครอบครัว ในสถานศึกษา สถานที่ทำงาน และสถานการณ์ในสังคมทั่วไป รวมถึงความรุนแรง ที่กำลังเกิดขึ้นในกลุ่มวัยรุ่น นอกจากนี้ความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ยังเกิดในลักษณะของการค้ามนุษย์ การข่มขืนกระทำชำเรา การคุกคามทางเพศ การบังคับการค้าประเวณี อันเนื่องมาจากการนำเสนอภาพลักษณ์ ของผู้หญิง ในทางลบ ของสื่อต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่ ป็นการสื่อในเรื่องทางเพศ (Sex object) ข้อมูลจากการประชุมการปราบปรามการกระทำผิดต่อเด็กระดับนานาชาติ 26 ประเทศทั่วโลก ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสในเดือนกันยายน 2549 ประเทศไทยถูกจัดอันดับเป็นประเทศ ที่เผยแพร่ภาพลามก

อนาจารของเด็กและสตรีผ่านเว็บไซต์ เป็นอันดับที่ 5 ของโลก (จากการสำรวจของสถาบันจัดลำดับอินเตอร์เน็ต ที่น่าเชื่อถือ ที่รู้จักกันในนาม Internet Watch Foundation) โดยมีประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นอันดับ 1 51.1% อันดับที่ 2 รัสเซีย 14.9% อันดับที่ 3 ญี่ปุ่น 14.9% อันดับ 4 สเปน 8.8% อันดับ 5 ไทย 3.6% อันดับ 6 เกาหลี 2.16 % อันดับ 7 อังกฤษ 0.2% ประเทศอื่น ๆ อีก 7.5% (มติชน วันที่ 4 ตุลาคม 2549)
       นอกจากนี้ยังรวมถึงปัญหาความรุนแรงอันเกิดจากสถานการณ์จังหวัดชายแดนภาคใต้ สถานการณ์ความรุนแรงดังกล่าว สตรีและเด็กทั้งชาวพุทธ
และอิสลามต่างได้รับผลกระทบจากความรุนแรง อันส่งผลถึงการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก ทรัพย์สิน สุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจ การละเมิดสิทธิรวมทั้งการตกเป็นเหยื่อของการก่อการร้าย ซึ่งได้รับผลกระทบทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม ทั้งทางร่างกายและบาดแผลทางจิตใจ

   สาเหตุของความรุนแรง
    สาเหตุของการกระทำความรุนแรงต่อสตรีและเด็กร้อยละ 28.79 เกิดจากสาเหตุการเมาสุรา และติดสารเสพติด การนอกใจ หึงหวง และทะเลาะวิวาทร้อยละ 24.04 และกฎหมายบางเรื่องยังเปิดช่องว่าง ให้มีการกระทำรุนแรงในครอบครัว เช่น กฎหมายอาญา มาตรา 276 ใช้ถ้อยคำว่า "ผู้ใดข่มขืนหญิงซึ่งมิใช่ภรรยาของตน" มีผลให้สามีข่มขืนภรรยาได้โดยไม่มีความผิด
ความรุนแรงในโรงเรียนและสถาบันการศึกษา
    ผลวิจัยของโครงการติดตามสภาวการณ์เด็กและเยาวชนรายจังหวัด (Child Watch) ที่ทำการสำรวจในกลุ่มเด็กเยาวชน 150,000 คนทั่วประเทศ พบว่าเด็กนักเรียนในระดับมัธยมศึกษา และอาชีวศึกษาทั้งในระดับ ทั้งในระดับ ปวช. และ ปวส. ตกอยู่ในวัฎจักร ของการใช้ความรุนแรง การใช้กำลังกันระหว่างเพื่อนนักเรียนด้วยกัน ประมาณ 1 ใน 10 หรือประมาณ 700,000 คน จากจำนวนนักเรียนในระดับมัธยม ศึกษา ปวช. และ ปวส. ผลวิจัยดังกล่าวชี้ว่า ปัญหาความรุนแรงในโรงเรียนไม่ใช่ ปัญหาใหม่ ของสังคมไทย แต่เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมานานแล้ว และมีแนวโน้ม เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งความรุนแรงที่เกิดขึ้นในเด็กและเยาวชนนั้น สาเหตุสำคัญส่วนหนึ่งมาจากประสบการณ์ ความรุนแรงในครอบครัว ซึ่งเด็กได้รับการถ่ายทอดประสบการณ์เหล่านั้นความเจ็บปวด จากการแตกร้าวของครอบครัว การหย่าร้างของบิดามารดารวมทั้งการนำเสนอของสื่อต่าง ๆ ที่แสดงออกถึงความรุนแรงทั้งรูป ของการละเล่น (games) ภาพยนตร์ ข่าว และภาษาที่ใช้ทั้งการใช้คำพูด หรือภาษาหนังสือ
เหตุการณ์ความขัดแย้งที่มีการใช้อาวุธ การทำร้าย การฆาตกรรม การก่อการร้าย การลงทัณฑ์ ทรมาน ข่มขืน
การละเมิดทางเพศ การละเมิดสิทธิ และการก่อเหตุไม่สงบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เป็นการละเมิดหลักการพื้นฐาน ของกฎหมายสิทธิมนุษยชน และมนุษยธรรมระหว่างประเทศ ซึ่งการละเมิดสิทธิดังกล่าวส่งผลกระทบต่อทั้งผู้หญิงและผู้ชายในรูปแบบแตกต่างกัน ความรุนแรงดังกล่าว ก่อให้เกิดความเดือดร้อนจากการสูญเสียทรัพย์สินบ้านช่อง และญาติพี่น้อง ในบางครั้งเป็นการซ้ำเติมปัญหาสตรี และเด็กผู้หญิง ซึ่งเป็นกลุ่มที่เปราะบางที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุด โดยเฉพาะครอบครัวยากจน หรือครอบครัวที่มีสตรีรับหน้าที่เป็นหัวหน้าครอบครัว ต้องรับภาระอบรมเลี้ยงดูลูก รวมทั้งประกอบอาชีพ เพื่อให้มีรายได้เพียงพอ กับค่าใช้จ่ายในครอบครัวทำให้สตรีเหล่านี้ต้องตกอยู่ในสภาพที่แย่ไปกว่าเดิม ซึ่งปัญหาเหล่านี้มีผลต่อสุขภาพกาย สุขภาพจิต ของสมาชิกในครอบครัว และบางครอบครัวไม่สามารถประกอบอาชีพอย่างที่เคยทำมาได้ มีผลทำให้ครอบครัวที่ทุกข์ยากอยู่แล้ว มีความลำบากยากจนยิ่งขึ้นไปอีก

แนวทางการยุติความรุนแรงต่อสตรี

          1. การปรับปรุงกระบวนการยุติธรรม กระบวนการทางกฎหมาย เช่น การเพิ่มโทษ และการฝึก
อบรม ตำรวจ แพทย์ พยาบาล นักสังคมสงเคราะห์ อัยการ ผู้พิพากษา ให้มีความเข้าใจในเรื่อง
ความรุนแรง  เข้าใจปัญหา รวมทั้งวิธีการให้ความยุติธรรม กับผู้ที่ถูกกระทำ
          2. การให้ข้อมูลข้อสนเทศแก่ประชาชนเกี่ยวกับหน่วยงาน ที่จะติดต่อเมื่อมีการกระทำรุนแรง
          3. ดำเนินการให้มีแผนระดับชาติ และกลไกการประสานงาน และดำเนินงานให้ได้ผลแะเป็
ไปในทิศทางเดียวกัน
          4. ส่งเสริมสถาบันครอบครัว โดยให้ความรู้เรื่องครอบครัวศึกษา สิทธิมนุษยชน สิทธิเด็ก 
วิธีการแก้ความขัดแย้ง โดยไม่ใช้ความรุนแรง และการดำรงชีวิตตามหลักศาสนา เพื่อสร้างควา
ตระหนักในสิทธิของตนเองและผู้อื่น
          5. สนับสนุนให้มีการทำงานจัดการปัญหาด้านความรุนแรงต่อเด็กและสตรี ในกลุ่มต่าง ๆ
 เพิ่มขึ้น และเป็นประเด็นที่ทำงาน ให้ต่อเนื่อง ทั้งภาคธุรกิจองค์กรเอกชนอื่น ๆ สื่อมวลชน
แขนงต่าง ๆ และรายการวิทยุ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น