วันเสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ในการกระทำความรุนแรงใดๆ ที่เกิดขึ้นทั้งโดยเจตนาหรือไม่เจตนา ทั้งต่อตนเองหรือผู้อื่นจะด้วยเหตุผลกลใดก็ตามความรุนแรงที่ว่านั้นมักมีผลตามมาเสมอ ผลจากความรุนแรงจะมีมากน้อยเพียงไรย่อมขึ้นอยู่ที่ระดับความรุนแรงของการกระทำ และสภาวะจิตใจของผู้ถูกกระทำเป็นสำคัญ ทั้งนี้อาจรวมถึงเงื่อนไขของสภาพแวดล้อมและบริบททางวัฒนธรรมด้วย
        การกระทำรุนแรงนั้นหากไม่ได้กระทำกับตนเองแล้วส่วนใหญ่นั้นมักจะเกิดจากผู้มีอำนาจเหนือกว่า กระทำกับผู้ที่อ่อนแอกว่า เช่น สามีกระทำกับภรรยา ญาติผู้ใหญ่กระทำกับเด็ก ครูกระทำกับนักเรียน หรือเพศชายกระทำกับเพศหญิง เป็นต้น สำหรับผลที่เกิดจากการกระทำความรุนแรงคือผลร้ายต่อร่างกายและจิตใจ ผลต่อร่างกายมีตั้งแต่บาดเจ็บเล็ก ๆ น้อย ๆ ไปจนถึงขั้นพิการหรือเสียชีวิต สำหรับผลต่อจิตใจนั้นก็มักต่อเนื่องยาวนานและกลายเป็นปัญหาสังคม
อื่น ๆ ตามมา ที่สำคัญการบำบัดรักษาต้องใช้เวลาและกระทำได้ยาก




วันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ความรุนแรงในสังคมไทย

         การกระทำรุนแรงในสังคมไทยเกิดขึ้นได้ด้วยสาเหตุต่าง ๆ กัน ความรุนแรงบางอย่างเป็นผลมาจากความคิดความเชื่อของคนในสังคมที่กระทำระหว่างกัน     บางอย่างเกิดจากภาวะจิตใจที่ผิดปกติของคนในสังคม บางอย่างเป็นความรุนแรงที่กระทำระหว่างคนใกล้ชิด และบางอย่างเป็นภัยทางสังคมซึ่งพบเห็นได้บ่อยขึ้นในปัจจุบัน

        การกระทำรุนแรงอันเกิดจากความคิดความเชื่อของคนในสังคม เป็นสิ่งละเอียดอ่อน บางอย่างแฝงมากับความเชื่อในรูปแบบของค่านิยม หรือสืบทอดผ่านทางวัฒนธรรมประเพณีในแต่ละสังคม จนเกิดการยอมรับ และมักมองข้ามลักษณะความรุนแรงที่ปรากฏ เช่น การนิยมเจาะหูให้แก่ลูกผู้หญิง การนิยมมีรอยสักแก่ผิวหนังของตนเอง สิ่งเหล่านี้ในสังคมมองเห็นเป็นเรื่องธรรมดา ทั้ง ๆ ที่เป็นความรุนแรงที่กระทำขึ้นระหว่างแม่ต่อลูกหรือกระทำกับตนเอง
        การกระทำรุนแรงระหว่างกันตามความเชื่อของไทยโดยทั่วไปแม้จะไม่รุนแรงถึงขนาดทุบตีและยิงทิ้งกันต่อหน้าต่อตาผู้อื่นอันเนื่องมาจากการฝ่าฝืนกฎ       หรือลวงมาฆ่าหมู่อย่างลัทธิบางลัทธิในภูมิภาคอื่น ๆ ของโลก แต่ความเชื่อบางอย่างในภูมิภาคต่าง ๆ ของไทยก็มีลักษณะการกระทำรุนแรงจากผลของความเชื่อมิใช่น้อย ในอดีตเวลาก่อสร้างเจดีย์หรือพระธาตุบางแห่งต้องฝังคนเป็น ๆ ข้างใต้แท่นฐาน หรือบางแห่งมีวิธีการรักษาคนเป็นโรคจิตด้วยด้วยวิธีการทางไสยศาสตร์ มีการไล่ผีให้ออกจากตัวโดยการเฆี่ยนตีหรือราดด้วยน้ำร้อน บางแห่งมีพิธีเลี้ยงผีอารักษ์เมืองและมีการฆ่าสัตว์สังเวยแสดงความรุนแรง หรือตัวอย่างการขับไล่ผู้สงสัยว่าเป็นผีปอบไปอยู่นอกเมืองหรือที่ห่างไกลผู้คน ใช้วิธีการที่รุนแรง เช่น ขว้างปา รุมทำร้าย หรือรื้อถอนบ้าน ซึ่งเกิดผลร้ายต่อผู้ถูกกล่าวหาทั้งร่างกายและจิตใจ

        การกระทำรุนแรงที่เกิดจากภาวะจิตใจที่ผิดปกติ การกระทำรุนแรงเช่นนี้มักเกิดจากคนที่มีจิตใจไม่ปกติซึ่งปะปนอยู่ในสังคม มีทั้งที่เราสังเกตเห็นและไม่เห็น                ระดับความรุนแรงขึ้นอยู่กับระดับความผิดปกติของภาวะจิตใจ เช่น คนเป็นโรคจิตประเภทคลั่งสลับซึม ที่ก่อเหตุทำร้ายแก่คนรอบข้างหรือคนในครอบครัวจนเป็นข่าวให้เห็นอยู่เสมอ คนที่คับข้องใจและแสดงความก้าวร้าวต่อภาวะคับข้องใจด้วยการกระทำรุนแรงต่อตนเองโดยการฆ่าตัวตายในสังคมไทยก็มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น จากข้อมูลที่ศึกษาพบว่าคนไทยใช้วิธีฆ่าตัวตายโดยการกินยามากถึง 70 %       รองลงมาคือแทงตัวเอง กระโดดจากที่สูง ยิงตัวตายและผูกคอตาย นอกจากนั้นยังมีการกระทำรุนแรงอันเกิดจากภาวะจิตใจที่ผิดปกติให้เห็นอีกมากมาย เช่น คนเป็นเอดส์แพร่เชื้อโดยใช้เข็มวิ่งไล่แทงคนอื่น คนวิปริตทางเพศโชว์อวัยวะเพศต่อหน้าดาราที่ตนคลั่งไคล้จนเกิดความหวาดกลัว เป็นต้น 

        การกระทำรุนแรงที่เกิดขึ้นระหว่างคนใกล้ชิด ปัจจุบันเป็นปัญหาใหญ่ของสังคม ซึ่งความรุนแรงที่เกิดขั้นส่วนใหญ่จะเกิดในครอบครัว โรงเรียน หรือชุมชนที่อยู่ใกล้ชิดกัน ลักษณะความรุนแรงมีตั้งแต่ดุด่าด้วยถ้อยคำ ลงโทษด้วยวิธีการแปลกๆ ทำร้ายร่างกาย และคุกคามทางเพศ ส่วนใหญ่เกิดกับเด็กและผู้หญิง



วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

รูปแบบของความรุนแรง


     
ความรุนแรง   หมายถึงการทำร้ายทางร่างกาย     การทำร้ายทางจิตใจ   การทำร้ายทางเพศ และการทอดทิ้งเด็กที่มีอายุต่ำกว่า  18  ปี ความรุนแรงมี ประเภท 
1. การทำร้ายร่างกาย   คือ  มักเกิดจากการทุบ   ตี   ต่อย   เตะ   จับศีรษะโขกกับของแข็ง ใช้เทียนหยดลงตามตัว   ขว้างปาด้วยสิ่งของ   แทง   ฟัน   ยิง   หรือทรมานร่างกายด้วยวิธีต่าง ๆ

2. การทำร้ายทางจิตใจ    เป็นการกระทำด้วยกิริยาวาจา  ทาทาง  สายตา  สีหน้า  จนทำให้ผู้ถูกกระทำเจ็บชำนำใจ  อับอาย  อาจถึงขั้นคิดสั้นได้  การกระทำดังกล่าว   ได้แก่  การด่า  บังคับขู่เข็ญการดูถูกเหยียดหยามการเยาะเย้ยถากถาง  การข่มขู่      การไล่ออกจากบ้าน  การหน่วงเหนี่ยวกักขัง  ตลอดจนการรบกวนต่าง ๆ ทางจิตใจของผู้ผูกกระทำ

3. การทำรายทางเพศ  ผู้ที่ถูกทำร้ายทางเพศมักได้แก่เพศหญิงและมีเด็กชายบ้างเหมือนกัน ลักษณะการทำร้ายทางเพศมีหลายรูปแบบ  เช่น  การถูกจับหน้าอก     ถูกจับก้น  ถูกจับอวัยวะเพศ การถูกฝ่ายชายเอาอวัยวะเพศมาถูไถร่างก่ายขณะอยู่ในชุมชน  การถูกปลุกปล้ำ   การถูกข่มขืน 
   โดยผู้ชายคนเดียว  การถูกข่มขืนโดยผู้ชายหลายคน  การถูกบังคับให้ถอดเสื้อผ้าเพื่อถ่ายภาพ ถูกพูดจาลวนลาม  ล่วงเกินทางเพศ  ถูกตัดแต่งภาพโดยใช้รูปโป๊ของผู้อี่นแต่ใช้หน้าผู้เสียหายออก  เผยแพร่ให้ สาธารณชนได้เห็น เป็นต้น

4. การทอดทิ้งเด็ก  อาจทอดทิ้งตั้งแต่แรกเกิด  จนถึงการทอดทิ้งเด็กโตซึ่งอายุไม่ไม่เกิน  18  ปี  จนผู้ทอดทิ้งได้รับความเดือดร้อน
หรือถึงขั้นเสียชีวิต ปัจจุบันนี้เรื่องการทอดทิ้งเด็ก เด็กมีมากมายในสังคมไทยทั้งนี้เกิดจากความ ไม่รับผิดชอบของผู้ใหญ่และพวกวัยรุ่นใจแตก 












วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ปัญหาความรุนแรงในสังคม >> อิทธิพลของสื่อ

ปัญหาความรุนแรงในสังคม >> อิทธิพลของสื่อ


     วัยรุ่นจำนวนไม่น้อยที่หมกมุ่นเสียเวลาไปกับการเสพสื่อเพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน จึงมีสื่อหลายประเภทออกมาเรียกความสนใจจาก  วัยรุ่นกลุ่มนี้ และสื่อประเภทการต่อสู้ ไล่ล่า การใช้ความรุนแรง อาชญากรรม เป็นสื่อที่ได้รับความนิยมสูงเพิ่มมากขึ้น ทำให้ผู้ผลิตมีการแข่งขันในด้านการผลิตออกมาในรูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น การ์ตูน ภาพยนต์ ละคร เกมคอมพิวเตอร์อย่างแพร่หลาย

     มีวัยรุ่นจำนวนไม่น้อยเห็นว่าสื่อรุนแรงเหล่านี้ เป็นการฝึกทักษะความว่องไว เชิงชั้นในการต่อสู้และไล่ล่า โดยไม่ได้กระทำจริง หากแต่การ       กระทำซ้ำๆ บ่อยๆ ย่อมทำให้สื่อเหล่านี้มีอิทธิพลครอบงำ ล่อแหลม และค่อยๆ เปลี่ยนแปลงทัศนคตี ค่านิยม นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างไม่รู้ตัวได้ เพราะถึงแม้จะมีการปราบปรามหรือมีการตรวจพิจารณาจากเจ้าหน้าที่ในการเผยแพร่ก็ยังคงมีเล็ดลอด         แพร่หลายอยู่อีกมากมาย จึงจำเป็นต้องมีกลวิธีอื่นๆ ที่จะสร้างภูมิคุ้มกันให้กับวัยรุ่นไม่ให้นำแบบอย่างนั้นออกมากระทำความรุนแรงในสังคม ผู้ปกครองควรใกล้ชิดดูแลสอดส่อง ช่วยในการคัดเลือกสื่อ ครูและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องควรสร้างความตระหนักให้วัยรุ่นรู้จักวิเคราะห์และเลือกสื่ออย่างเหมาะสม



วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

สถานการณ์การกระทำรุนแรง

     จากการศึกษาวิจัยได้พบข้อมูลของการกระทำรุนแรงระหว่างคนใกล้ชิดที่น่าสนใจหลายประการ เช่น การข่มขืนผู้หญิงส่วนใหญ่เกิดกับวัยผู้ใหญ่คืออายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ในช่วงเวลา 18.00 – 24.00 น. ส่วนใหญ่เกิดเหตุในโรงแรมและเป็นการกระทำของญาติหรือเพื่อนสนิท โดยมักมีการดื่มสุราก่อนก่อเหตุเสมอ สำหรับการละเมิดทางเพศในโรงเรียน เด็กที่ถูกละเมิดทางเพศส่วนใหญ่มาจากครอบครัวที่ไม่อบอุ่นหรือแตกแยก และครอบครัวใหม่ไม่มีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน โดยทางโรงเรียนไม่มีกฎระเบียบและวิธีการจัดการเรียนการสอนหรือมีความร่วมมือกับผู้ปกครองในการป้องกันปัญหา แม้แต่ในครอบครัวเองก็เกิดความรุนแรงในการอบรมเลี้ยงดู โดยเด็กจะได้รับการเลี้ยงดูด้วยวิธีการที่รุนแรงในด้านจิตใจและร่างกาย ที่น่าสนใจคือผลการวิจัยพบว่าเกิดการรับรู้ที่ต่างกันระหว่างเด็กกับผู้ปกครอง กล่าวคือเด็กจะรับรู้ว่าถูกเลี้ยงดูด้วยวิธีการรุนแรงมากกว่าผู้ปกครองที่รับรู้ว่าได้กระทำรุนแรงกับเด็ก และผู้หญิงที่ถูกกระทำรุนแรงในครอบครัวจะถูกกระทำรุนแรงทางจิตใจมากที่สุด รองลงมาคือทางเพศและทางร่างกาย   ส่วนใหญ่ถูกกระทำโดยสามี
   ความรุนแรงที่เกิดจากภัยทางสังคม เป็นความรุนแรงที่พบเห็นได้บ่อยมากตามข่าวของสื่อมวลชน เป็นการกระทำรุนแรงต่อร่างกายและจิตใจในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การชิงทรัพย์ ทำร้ายร่างกาย ฆ่าล้างแค้น ล่วงละเมิดทางเพศและการใช้แรงงานเด็กอย่างไม่เป็นธรรม จากสถิติของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่สรุปไว้ในปี 2544 ระบุว่าช่วงที่ผ่านมาการทำร้ายร่างกายมีอัตราเพิ่มขึ้น การข่มขืนอยู่ในจำนวนคงที่ ส่วนการใช้แรงงานเด็กมีแนวโน้มลดลงแต่เพิ่มขึ้นในบางภูมิภาค เช่น     ภาคใต้ 
       สำหรับเด็กและเยาวชนที่ถูกจับกุมส่งสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนนั้นเพิ่มขึ้นในแต่ละปี ซึ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นภาพของความรุนแรงในสังคมที่เพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน
        การคุกคามทางเพศเป็นภัยทางสังคมอีกรูปแบบหนึ่ง จากผลการวิจัยพบว่าการคุกคามทางเพศมักเกิดในที่สาธารณะ พบมากที่สุดคือการเกี้ยวพาราสีจากคนแปลกหน้าในเวลากลางคืน ซึ่งเป็นการคุกคามที่เกิดความรำคาญและหวาดกลัวอันมีผลร้ายต่อจิตใจ นอกจากนั้นการคุกคามทางเพศในที่สาธารณะเช่น ป้ายรถเมล์ ถนนหนทาง ในช่วงนอกเวลาทำงานโดยคนไม่รู้จักก็มักจะเกิดขึ้นทั้งกับเพศหญิงและชาย โดยปัจจัยที่จะทำให้ถูกคุมคามทางเพศมากที่สุดคือความสวยความหล่อของหน้าตาและเรือนร่างหรือสัดส่วน การกระทำก็ตั้งแต่เอาอวัยวะเพศมาเสียดสีเพื่อสำเร็จความใคร่ จนถึงการลวนลามโดยใช้กำลังประทุษร้ายซึ่งถือว่าเป็นการกระทำรุนแรงของภัยทางสังคมที่น่ากลัว



บทสรุป
        สิ่งที่เป็นปัญหาจากความรุนแรงนอกจากจะเกิดกับร่างกายและจิตใจแล้วส่วนหนึ่งยัง ฝังแน่นในอารมณ์และความรู้สึกของผู้ถูกกระทำต่อเนื่องไปอีกยาวนาน บางคนมีความหวาดกลัวทั้งผู้คนและสถานที่ บางคนรู้สึกทุกข์ทรมานและเจ็บปวด บางคนสูญเสียความมั่นใจในตัวเองและไม่ไว้วางใจ ผู้อื่น และบางคนคิดว่าสิ่งที่ถูกกระทำเป็นตราบาปที่ติดตัวไปชั่วชีวิต
        ที่สำคัญที่สุดคือปัญหาการกระทำรุนแรงระหว่างกันมิได้ยุติลงแต่เฉพาะบุคคลที่กระทำและ ผู้ถูกกระทำเท่านั้น ปัญหาส่วนใหญ่ลุกลามขยายผลไปถึงชุมชนรอบข้างและสังคม กลายเป็นปัญหาที่ทับถมและทวีความรุนแรงมากขึ้นจนเป็นภาระที่คนในสังคมต้องเผชิญและร่วมกันรับผิดชอบในที่สุด







วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

สาเหตุของการเกิดความรุนแรง


1. มีความขัดแย้งกัน จนเกิดอารมณ์ ที่เป็นต้นเหตุในการใช้ความรุนแรง
2. มีความผิดปกติทางจิตใจ คือเป็นคนก้าวร้าว ชอบการกระทำที่รุนแรง ขาดความเมตตาปราณี
3. เกิดจากครอบครัวที่มีแต่ความขัดแย้งกัน พ่อแม่ทะเลาะกัน ทุบตี และด่าว่ากัน จนลูกนั้นซึมซับ อาจเกิดพฤติกรรมเลียนแบบเพราะเห็น   เป็นเรื่องปกติ
4. มีค่านิยมผิดๆ ซึ่งแสดงออกเป็นพฤติกรรมที่ไม่ดี เช่น เห็นว่าสามีทำร้ายภรรยาเป็นเรื่องปกติ ความรุนแรงเป็นเรื่องส่วนตัว เป็นต้น จึงส่งผลทำให้ไม่มีผู้ใดเข้าไปช่วยเหลือ เพราะเห็นว่าไม่ควรเข้าไปยุ่ง
5. สามีหรือภรรยาไม่รับผิดชอบต่อครอบครัว โดยทิ้งให้อีกฝ่ายหนึ่งหากินเลี้ยงลูกเองตามลำพัง
6. มีการเลียนแบบสื่อต่างๆ ที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับการใช้ความรุนแรง เช่น ภาพยนตร์ โทรทัศน์ เป็นต้น
7. มีการล่อลวง มอมยา แล้วหลอกหรือปลดเอาทรัพย์สินไป
8. การแต่งกายค่อนข้างล่อแหลมของผู้หญิงมีส่วนทำให้เกิดคดีอนาจารและข่มขืนได้
9. การคุยทางอินเตอร์เน็ตมีส่วนหลอกล่วงกัน

วันอาทิตย์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

แนวทางการป้องกันปัญหาความรุนแรงในสังคม


1. เจ้าหน้าที่ตำรวจควรช่วยดูแลกวดขันในจุดที่เป็นอันตรายให้มาก
2. ควรลงโทษผู้กระทำผิดทางอาญาให้หนัก ในคดีที่เกิดขึ้นซึ่งทำให้คนอื่นและสังคมเกิดความเดือดร้อน
3. การควบคุมสื่ออย่าให้ออกข่าวและแพร่ภาพเรื่องราวที่เกี่ยวกับความรุนแรงมากนัก
4. บุคคลต้องระวังตนเองให้ปลอดภัยจากการถูกจี้ ปล้น หรือวิ่งราวทรัพย์ รวมทั้งการหลอกลวง
5. บุคคลควรลดความขัดแย้ง
6. ยึดถือหลักศาสนาที่ตนนับถือโดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการฆ่าสัตว์ การทำร้ายร่างกาย การเบียดเบียนผู้อื่น การเสพสารเสพติด
7. ผู้หญิงควรแต่งกายให้รัดกุม มิดชิด และระมัดระวังในการเดินทางไปในที่เปลี่ยว หรือไม่ปลอดภัย
8. ต้องใช้วิจารณญาณในการเล่นอินเตอร์เน็ต
9. รวมกลุ่มจัดดูแลชุมชน แจ้งเหตุแก่เจ้าหน้าที่เตือนภัยอาสาสมัคร



วันเสาร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

สตรีกับความรุนแรง

สถานการณ์ความรุนแรงในประเทศไทย นับว่ายังเป็นปัญหาสำคัญ และส่งผลกับสตรี และเด็กเป็นวงกว้าง และเกิดขึ้นในหลายรูปแบบ ทั้งความรุนแรงในครอบครัว ในสถานศึกษา สถานที่ทำงาน และสถานการณ์ในสังคมทั่วไป รวมถึงความรุนแรง ที่กำลังเกิดขึ้นในกลุ่มวัยรุ่น นอกจากนี้ความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ยังเกิดในลักษณะของการค้ามนุษย์ การข่มขืนกระทำชำเรา การคุกคามทางเพศ การบังคับการค้าประเวณี อันเนื่องมาจากการนำเสนอภาพลักษณ์ ของผู้หญิง ในทางลบ ของสื่อต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่ ป็นการสื่อในเรื่องทางเพศ (Sex object) ข้อมูลจากการประชุมการปราบปรามการกระทำผิดต่อเด็กระดับนานาชาติ 26 ประเทศทั่วโลก ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสในเดือนกันยายน 2549 ประเทศไทยถูกจัดอันดับเป็นประเทศ ที่เผยแพร่ภาพลามก

อนาจารของเด็กและสตรีผ่านเว็บไซต์ เป็นอันดับที่ 5 ของโลก (จากการสำรวจของสถาบันจัดลำดับอินเตอร์เน็ต ที่น่าเชื่อถือ ที่รู้จักกันในนาม Internet Watch Foundation) โดยมีประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นอันดับ 1 51.1% อันดับที่ 2 รัสเซีย 14.9% อันดับที่ 3 ญี่ปุ่น 14.9% อันดับ 4 สเปน 8.8% อันดับ 5 ไทย 3.6% อันดับ 6 เกาหลี 2.16 % อันดับ 7 อังกฤษ 0.2% ประเทศอื่น ๆ อีก 7.5% (มติชน วันที่ 4 ตุลาคม 2549)
       นอกจากนี้ยังรวมถึงปัญหาความรุนแรงอันเกิดจากสถานการณ์จังหวัดชายแดนภาคใต้ สถานการณ์ความรุนแรงดังกล่าว สตรีและเด็กทั้งชาวพุทธ
และอิสลามต่างได้รับผลกระทบจากความรุนแรง อันส่งผลถึงการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก ทรัพย์สิน สุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจ การละเมิดสิทธิรวมทั้งการตกเป็นเหยื่อของการก่อการร้าย ซึ่งได้รับผลกระทบทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม ทั้งทางร่างกายและบาดแผลทางจิตใจ

   สาเหตุของความรุนแรง
    สาเหตุของการกระทำความรุนแรงต่อสตรีและเด็กร้อยละ 28.79 เกิดจากสาเหตุการเมาสุรา และติดสารเสพติด การนอกใจ หึงหวง และทะเลาะวิวาทร้อยละ 24.04 และกฎหมายบางเรื่องยังเปิดช่องว่าง ให้มีการกระทำรุนแรงในครอบครัว เช่น กฎหมายอาญา มาตรา 276 ใช้ถ้อยคำว่า "ผู้ใดข่มขืนหญิงซึ่งมิใช่ภรรยาของตน" มีผลให้สามีข่มขืนภรรยาได้โดยไม่มีความผิด
ความรุนแรงในโรงเรียนและสถาบันการศึกษา
    ผลวิจัยของโครงการติดตามสภาวการณ์เด็กและเยาวชนรายจังหวัด (Child Watch) ที่ทำการสำรวจในกลุ่มเด็กเยาวชน 150,000 คนทั่วประเทศ พบว่าเด็กนักเรียนในระดับมัธยมศึกษา และอาชีวศึกษาทั้งในระดับ ทั้งในระดับ ปวช. และ ปวส. ตกอยู่ในวัฎจักร ของการใช้ความรุนแรง การใช้กำลังกันระหว่างเพื่อนนักเรียนด้วยกัน ประมาณ 1 ใน 10 หรือประมาณ 700,000 คน จากจำนวนนักเรียนในระดับมัธยม ศึกษา ปวช. และ ปวส. ผลวิจัยดังกล่าวชี้ว่า ปัญหาความรุนแรงในโรงเรียนไม่ใช่ ปัญหาใหม่ ของสังคมไทย แต่เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมานานแล้ว และมีแนวโน้ม เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งความรุนแรงที่เกิดขึ้นในเด็กและเยาวชนนั้น สาเหตุสำคัญส่วนหนึ่งมาจากประสบการณ์ ความรุนแรงในครอบครัว ซึ่งเด็กได้รับการถ่ายทอดประสบการณ์เหล่านั้นความเจ็บปวด จากการแตกร้าวของครอบครัว การหย่าร้างของบิดามารดารวมทั้งการนำเสนอของสื่อต่าง ๆ ที่แสดงออกถึงความรุนแรงทั้งรูป ของการละเล่น (games) ภาพยนตร์ ข่าว และภาษาที่ใช้ทั้งการใช้คำพูด หรือภาษาหนังสือ
เหตุการณ์ความขัดแย้งที่มีการใช้อาวุธ การทำร้าย การฆาตกรรม การก่อการร้าย การลงทัณฑ์ ทรมาน ข่มขืน
การละเมิดทางเพศ การละเมิดสิทธิ และการก่อเหตุไม่สงบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เป็นการละเมิดหลักการพื้นฐาน ของกฎหมายสิทธิมนุษยชน และมนุษยธรรมระหว่างประเทศ ซึ่งการละเมิดสิทธิดังกล่าวส่งผลกระทบต่อทั้งผู้หญิงและผู้ชายในรูปแบบแตกต่างกัน ความรุนแรงดังกล่าว ก่อให้เกิดความเดือดร้อนจากการสูญเสียทรัพย์สินบ้านช่อง และญาติพี่น้อง ในบางครั้งเป็นการซ้ำเติมปัญหาสตรี และเด็กผู้หญิง ซึ่งเป็นกลุ่มที่เปราะบางที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุด โดยเฉพาะครอบครัวยากจน หรือครอบครัวที่มีสตรีรับหน้าที่เป็นหัวหน้าครอบครัว ต้องรับภาระอบรมเลี้ยงดูลูก รวมทั้งประกอบอาชีพ เพื่อให้มีรายได้เพียงพอ กับค่าใช้จ่ายในครอบครัวทำให้สตรีเหล่านี้ต้องตกอยู่ในสภาพที่แย่ไปกว่าเดิม ซึ่งปัญหาเหล่านี้มีผลต่อสุขภาพกาย สุขภาพจิต ของสมาชิกในครอบครัว และบางครอบครัวไม่สามารถประกอบอาชีพอย่างที่เคยทำมาได้ มีผลทำให้ครอบครัวที่ทุกข์ยากอยู่แล้ว มีความลำบากยากจนยิ่งขึ้นไปอีก

แนวทางการยุติความรุนแรงต่อสตรี

          1. การปรับปรุงกระบวนการยุติธรรม กระบวนการทางกฎหมาย เช่น การเพิ่มโทษ และการฝึก
อบรม ตำรวจ แพทย์ พยาบาล นักสังคมสงเคราะห์ อัยการ ผู้พิพากษา ให้มีความเข้าใจในเรื่อง
ความรุนแรง  เข้าใจปัญหา รวมทั้งวิธีการให้ความยุติธรรม กับผู้ที่ถูกกระทำ
          2. การให้ข้อมูลข้อสนเทศแก่ประชาชนเกี่ยวกับหน่วยงาน ที่จะติดต่อเมื่อมีการกระทำรุนแรง
          3. ดำเนินการให้มีแผนระดับชาติ และกลไกการประสานงาน และดำเนินงานให้ได้ผลแะเป็
ไปในทิศทางเดียวกัน
          4. ส่งเสริมสถาบันครอบครัว โดยให้ความรู้เรื่องครอบครัวศึกษา สิทธิมนุษยชน สิทธิเด็ก 
วิธีการแก้ความขัดแย้ง โดยไม่ใช้ความรุนแรง และการดำรงชีวิตตามหลักศาสนา เพื่อสร้างควา
ตระหนักในสิทธิของตนเองและผู้อื่น
          5. สนับสนุนให้มีการทำงานจัดการปัญหาด้านความรุนแรงต่อเด็กและสตรี ในกลุ่มต่าง ๆ
 เพิ่มขึ้น และเป็นประเด็นที่ทำงาน ให้ต่อเนื่อง ทั้งภาคธุรกิจองค์กรเอกชนอื่น ๆ สื่อมวลชน
แขนงต่าง ๆ และรายการวิทยุ

วันศุกร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

รูปแบบการใช้ความรุนแรงในครอบครัว


)สิ่งที่เป็นรูปธรรม
การใช้ กาลังโดยตรงเช่น ต่อย เตะ ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ผิดกฎหมาย การทำร้ายร่างกายตาม กฎหมายอาญามาตราที่ 204 และ การใช้ความรุนแรงมาตราที่ 208 แม้จะเป็นการกระทำ กับ คู่สมรส ก็ตาม ก็ถือ ว่าต้องได้รับโทษตามกฎหมาย 
ใช้มือตบ
ใช้ขาเตะ
ทุบด้วยของที่อาจท าให้เกิดแผลบนร่างกายได้
ใช้กำปันต่อย
ใช้อาวุธของมีคมแทงเข้าที่ร่างกาย
ทึ้งผม
บีบคอ
บิดแขน
ลากไปทั่ว
ขว้างของใส่

2) ด้านจิตใจ
ใช้คำพูดหรือพฤติกรรมที่เสียดสี ทำร้าย จิตใจของฝ่ายตรงข้าม การทำร้ายทาง จิตใจ หากทำให้ภาวะความเครียดอัน เกิดจากการประสบภัยพิบัติ(PTSD) ซึ่งเป็นการทำให้เกิดบาดแผลทางใจตามประมวลกฎหมายอาญาอาจต้องรับโทษฐานทำ
ตะโกนเสียงดัง
ใช้ถ้อยคำ เช่น " รู้หรือเปล่าว่าทุกวันนี้นอยู่ได้เพราะใคร" "พึ่งอะไรไม่ได้เลย"
จำกัดขอบเขตการคบคน หรือ การติดต่อกับทางบ้าน คอยเช็คโทรศัพท์จดหมาย อย่างละเอียด
พูดอะไรด้วยก็ไม่สนใจ ไม่พูดด้วย
ชอบดุด่า หรือ ออกคำสั่ง เวลาอยู่ต่อหน้าคนอื่น
ทำลายหรือ ทิ้งของที่เป็นของรักของหวง
ไม่ให้เงินไว้ใช้จ่าย
ห้ามไม่ให้ไปทำงานข้างนอก ให้ลาออกจากงาน
ข่มขู่ว่าจะทำร้ายลูก
ข่มขู่ด้วยการทำท่าจะต่อย หรือ ทำท่าจะขว้างของใส่

 3) เรื่องทางเพศ
หมายถึง บังคับให้ มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ยินยอม บังคับให้ทำแท้ง หรือ ไม่ร่วมมือในการคุม กำเนิด เป็นต้น
ไม่อยากดู ก็เอาวิดีโอ หรือ นิตยสารรูปโป๊ให้ดู
บังคับให้มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ยินยอม
บังคับให้ทำแท้ง
ไม่ร่วมมือในการคุมกำเนิด


วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

เด็กกับความรุนแรงในสังคมไทย


เด็กกับความรุนแรงในสังคมไทยสังคมไทยจำเป็นต้องเข้าใจปัญหาการใช้ความรุนแรงของเด็กในสังคมไทยให้แจ่มชัดมากขึ้น เพราะการใช้ความรุนแรงในการดำเนินชีวิตได้คืบคลานเข้ามาอยู่กับเด็กไทยทุกขณะแล้ว กระแสการต่อต้านเกมที่ใช้ความรุนแรงและรัฐได้ปราบไม่ให้ร้านเกมมีเกมประเภทความรุนแรงบริการเด็ก อันเนื่องมาจากกรณีเด็กนักเรียนอายุ 16 ปล้นฆ่าแท็กซี่โดยรับว่าได้รับอิทธิพลจากเกมที่มีความรุนแรงเป็นสาระหลัก


แม้ว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ควรจะทำ แต่สังคมไทยไม่ควรจะนิ่งนอนใจหรือพึงพอใจว่าได้ขจัดต้นตอการใช้ความรุนแรงไปได้แล้วเพราะในความเป็นจริงนั้น การใช้ความรุนแรงของเด็กมีเงื่อนไขอื่นมากำหนดอีกมากมายตัวอย่างการก่ออาชญากรรมของเด็กวัยรุ่นที่กระทำต่อแท็กซี่และคนทั่วไปที่ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะการเล่นเกมมีอีกมากมาย เช่น เด็กจี้แท็กซี่เพราะต้องการเอาเงินไปเที่ยวกลางคืนการตี ฆ่า ข่มขืน ของเด็กแซ็บ เด็กแว้น (เด็กกวนเมือง) ที่เกิดขึ้นทุกหัวระแหงของสังคมไทยหรือ เด็กผู้หญิงตบตีกันแล้วถ่านคลิปเอาไว้"โชว์พาว" ข่มขู่เด็กอื่นๆ  ตัวอย่างมากมายเช่นนี้ชี้ให้ตั้งคำถามได้ทันทีว่า เกมเป็นต้นตอความรุนแรงจริงหรือ หรือว่า เกมจะเป็นเพียงเงื่อนไขการกระตุ้นสำนึกของการใช้ความรุนแรงในการดำเนินชีวิตที่ฝังในเด็กวัยรุ่นไปเรียบร้อยแล้ว

 ทำให้ดิฉันนึกถึงข่าวต่างๆ ที่เกิดขึ้นในทุกวันนี้ว่าวัยรุ่นใช้ความรุนแรงในการตัดสินปัญหา  ทำให้เรามองไปว่าการตัดสินใจของวัยรุ่นไม่ได้ตั้งอยู่บนเหตุผลใช้อารมณ์เป็นที่ตั้ง  และทุกคนที่มองปัญหาความรุนแรงของวัยรุ่นไทยเกิดจากการที่เด็กเล่นเกมหรือการรับวัฒนธรรมตะวันตก  ซึ่งที่จริงแล้วมองว่ามันเป็นการโทษกันไปโทษกันมา  เพื่อปัดปัญหาให้พ้นตัว  เราเคยคิดกันไหมว่าสาเหตุที่แท้จริงนั้นมันมาจากการที่เด็กไทยของเราขาดวัฒนธรรมที่ดีงามของไทย ด้วยสภาวะที่เปลี่ยนไปทำให้เราลืมวัฒนธรรมที่ดีงามไป มองกลับมาถ้าเราปลูกฝังสิ่งเหล่านี้ให้เขาก็จะสามารถลดปัญหาความรุนแรงของวัยรุ่นลงได้


วัยรุ่นเป็นวัยที่ต้องการแสดงออกความสามารถ ต้องการการยอมรับ เราซึ่งเป็นผู้ใหญ่ต้องคิดหากิจกรรมที่จะให้เขาได้ทำในสิ่งที่ต้องการในทางที่ถูกต้อง การที่จะทำให้เขาเปลี่ยนพฤติกรรมความรุนแรงลงได้ต้องใช้เวลานานและต้องอดทนที่จะทำค่อยๆ ปลูกฝังวัฒนธรรมที่ดีงามของเราให้เขาจนเขาสามารถซึมซับได้  เขาก็จะเกิดกระบวนการคิดวิเคราะห์ว่าสิ่งที่เขาจะทำมันถูกต้อง การกระทบกระทั่งกันมันต้องมีบ้างแต่เราก็ต้องรู้จักที่จะให้อภัยกัน กล่าวคำว่าขอโทษเมื่อเราผิด ยอมถอยออกมาคนละก้าวเพื่อที่จะไม่ต้องกระทบกระทั่งกัน  การใช้ความรุนแรงไม่ถือว่าเป็นชัยชนะที่ยิ่งใหญ่แต่การชนะใจตนเองด้วยการระงับอารมณ์เป็นชัยชนะที่ยิ่งใหญ่เหนือสิ่งอื่นใด


เด็กวัยรุ่นมักมีความรุนแรงมากจนไม่คาดถึง เท่าที่พบเป็นข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์มีมากมาย สาเหตุพฤติกรรมรุนแรงของเด็กวัยรุ่นที่แสดงออกจากการวิเคราะห์ มักพบว่า นอกจากเด็กส่วนใหญ่มาจากครอบครัวที่แตกแยกทำให้เด็กมีปัญหา เนื่องจากพ่อแม่ไม่มีเวลาอบรมสั่งสอน และดูแลอย่างใกล้ชิด เด็กมักขาดระเบียบวินัย และขาดความอดทนต่อการรอคอยแล้วที่น่าสนใจไม่น้อยยังพบว่า เด็กอีกหลายคนที่พ่อแม่ดูแลดีเกินไป ประคบประหงมจนลูกทำอะไรไม่เป็น ไม่เคยต่อสู้อุปสรรคปัญหาใดๆ หรือขาดความเข้มแข็งเปราะบางจนไม่สามารถทนต่อความผิดหวังได้ ในวัยเด็กเล็กการตามใจลูกทำให้เด็กขาดระเบียบวินัย จนเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เด็กดื้อ เอาแต่ใจตนเองหากไม่ได้ดั่งใจก็จะก้าวร้าวกับพ่อแม่ต่อมาอาการก้าวร้าวจะเพิ่มมากขึ้นจนกลายเป็นความรุนแรงตามข่าวที่มักพบบ่อยๆ ในวัยรุ่นซึ่งเป็นวัยที่เป็นตัวของตัวเองมีความสนใจเข้ากลุ่มเพื่อนและเชื่อฟังเพื่อนมากกว่าผู้ใหญ่ผู้ให้ดังนั้นหากถูกเพื่อนปฏิเสธ หรือมีปัญหาทางการเรียนด้วยแล้วมักถูกเพื่อนชักจูงไปในทางที่ไม่เหมาะสม ยิ่งมีตัวกระตุ้นด้วยการลองดื่มเหล้า หรือสารเสพติดด้วยแล้วยิ่งก่อให้เกิดพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงเสี่ยงต่อการก่ออาชญากรรมได้ในที่สุด

การลดพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงได้นั้นพ่อแม่สามารถฝึกเด็กได้ตั้งแต่ยังเล็ก โดยฝึกให้เขาเคยได้รับความผิดหวังบ้าง เช่น อาจสร้างมุมมองแนวคิดเมื่อเผชิญกับความผิดหวังฝึกให้เขามองโลกในแง่ดี มองถึงอนาคตรวมทั้งข้างหน้ายังมีโอกาสที่ผ่านเข้ามาอีกเรื่อยๆ"ไม่ใช่หมดแล้วหมดเลย แต่โอกาสข้างหน้ายังมีหรือ เสียแล้วเสียไปหาใหม่ดีกว่า" จะทำให้เขามองโลกได้กว้างขึ้น รวมทั้งยังช่วยลดความโกรธ ความเคียดแค้นที่มีอยู่ภายในใจด้วยการให้เขารู้จักเรียนรู้ในการให้อภัยแก่ผู้อื่นและตนเองด้วย ทุกคนมีโอกาสผิดพลาดได้รวมทั้งหัดให้เด็กรู้จักวิเคราะห์ผลการกระทำโดยให้มองแบบลูกโซ่ เช่น ถ้าเขาทำแบบนี้จะเกิดผลอย่างไรต่อใครบ้างนอกจากตนเอง รวมทั้งทำแล้วถ้าผลไม่เป็นตามที่คิดที่หวังจะยอมรับได้หรือไม่ เพื่อให้เด็กสามารถจัดการกับปัญหา และตัดสินใจยอมรับผลที่เกิดขึ้นด้วยตนเองซึ่งสำคัญมากเมื่อเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในอนาคต

อย่างไรก็ดีหากพ่อแม่ที่คิดว่าลูกโตแล้วฝึกไม่ทันเพราะผ่านการฝึกฝนในวัยเด็กเล็กไปแล้วก็ตาม แต่แต่เรื่องนี้ไม่มีคำว่าสายเกินไป อย่าท้อใจที่จะเริ่มต้นฝึกเด็กด้วยความอดทน เพื่อให้เขาปรับตัวและมีชีวิตที่เป็นสุขกับสังคมรอบข้างได้เป็นอย่างดีในต่อไป

วัยรุ่นเป็นวัยที่ต้องการแสดงออกความสามารถ ต้องการการยอมรับ เราซึ่งเป็นผู้ใหญ่ต้องคิดหากิจกรรมที่จะให้เขาได้ทำในสิ่งที่ต้องการในทางที่ถูกต้อง การที่จะทำให้เขาเปลี่ยนพฤติกรรมความรุนแรงลงได้ต้องใช้เวลานานและต้องอดทนที่จะทำค่อยๆ ปลูกฝังวัฒนธรรมที่ดีงามของเราให้เขาจนเขาสามารถซึมซับได้  เขาก็จะเกิดกระบวนการคิดวิเคราะห์ว่าสิ่งที่เขาจะทำมันถูกต้อง